แผนธุรกิจเพื่อสินเชื่อ SME

You are currently viewing แผนธุรกิจเพื่อสินเชื่อ SME
แผนธุรกิจเพื่อสินเชื่อ SME

แผนธุรกิจเพื่อสินเชื่อ SME

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​สำหรับผู้ที่มีความฝันในการเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเพิ่งจบการศึกษามาหมาด ๆ  หรือทำงานรับเงินเดือนมาสักระยะหนึ่งแล้ว และอยากก้าวออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจเอง หรือมีธุรกิจส่วนตัวที่ชอบหรือถนัดเป็นงานเสริม การจะทำความฝันให้เป็นจริงได้ เราจะต้องมองให้รอบทุกด้าน เพราะนอกจากภาพความสำเร็จสวยหรู ไม่ว่าจะเป็นการได้รับผลตอบแทนสูงในรูปของกำไร โอกาสที่จะร่ำรวย การได้เป็นนายของตนเอง หรือการได้รับการยอมรับนับถือในสังคม ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกมาก เช่น เงินลงทุนที่จะใช้ การต้องทำงานหนักขึ้น รับผิดชอบมากขึ้น ต้องแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่าง รวมถึงการมีความเสี่ยงที่จะขาดทุน หรือเลิกกิจการ และสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ดังนั้น ก่อนตัดสินใจก้าวออกมาเป็นผู้ประกอบการ ก็จะต้องต้องศึกษาข้อมูล เรียนรู้ให้มากที่สุด และวิเคราะห์อย่างรอบคอบ  เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ แผนธุรกิจเพื่อสินเชื่อ SME

1.  มีความรู้ความเข้าใจ และมีความสามารถในการบริหารธุรกิจ  ลองสำรวจตนเองว่าเรามีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถเพียงพอในการบริหารธุรกิจนั้น ๆ หรือไม่

2.  มีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ คนเรามีบุคลิกลักษณะทั้งภายในและภายนอกที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลให้มีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการซึ่งเป็นแรงผลักดันภายในและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จ  ลองสำรวจว่าเรามีสิ่งเหล่านี้หรือไม่  หรือจะสร้างมันให้เป็นสัญชาตญาณของเราได้อย่างไร

มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะประสบความสำเร็จ

มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ เพื่อทำในสิ่งที่แตกต่างหรือดีกว่าเดิม

มีความสามารถในการมองเห็น วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ

มีความเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ

มีทักษะในการสื่อสาร ทั้งการเจรจาต่อรอง การนำเสนอ และการโน้มน้าวจูงใจ

มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวตามสถานการณ์ และพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่

มีแผนสองไว้รองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเสมอ

มีความมุมานะพยายาม ทุ่มเทแรงกายแรงใจ  ไม่ย่อท้อต่อความเหน็ดเหนื่อยและความผิดหวัง

มีความคิดเชิงบวก เมื่อเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เมื่อเราสำรวจตัวเองแล้วว่าเรามีคุณสมบัติข้างต้นพร้อมจะเป็นผู้ประกอบการลองมาดูกันว่าเราต้องทำอย่างไรบ้าง

เริ่มต้นลงมือ : แผนธุรกิจเป็นอย่างไร ?​แผนธุรกิจเพื่อสินเชื่อ SME

จากแนวคิด…สู่แผนธุรกิจ

การทำธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ควรเริ่มต้นจากการทำแผนธุรกิจ ซึ่งทำได้ง่าย ๆ โดยจัดระบบความคิดของตนเอง แล้วถ่ายทอดลงบนกระดาษ อาจใช้ตัวอักษร ตัวเลข หรือรูปภาพ เพื่อให้สื่อสารเข้าใจได้ ซึ่งแผนธุรกิจนี้นอกจากจะช่วยให้ความคิดของเราตกผลึกหรือทำให้ตัวเราเองมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายแล้ว ยังสามารถใช้ในการสื่อสารเพื่อหาผู้ร่วมลงทุน หาพันธมิตรทางธุรกิจ หรือขอกู้เงินจากธนาคารได้อีกด้ว​ย

แผนธุรกิจควรประกอบด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กรธุรกิจ  เป้าหมายของธุรกิจ แผนการตลาด แผนการผลิต (หรือแผนการให้บริการ)  แผนการเงิน แผนการบริหารจัดการภายใน และแผนฉุกเฉิน​​​

การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อ sme

ในกรณีที่เราต้องการขอสินเชื่อธุ​รกิจจากสถาบัน​การเงินแผนธุรกิจเป็นเอกสารสำคัญที่สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อ การขาดแผนธุรกิจที่ดีเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจไม่ได้รับสินเชื่อ ซึ่งทั้งองค์กรภาครัฐ เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำ​แผนธุรกิจทาง website สิ่งพิมพ์ ตลอดจนจัดหลักสูตรอบรม และสัมมนาเชิงปฏิบัติการอยู่เป็นระยะ ผู้สนใจจะทำธุรกิจจึงควรหมั่นศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยเราอาจศึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้จากคู่มือการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อขอสินเชื่อ จัดทำโดย สสว.

​​ที่มา:  สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI)​​

ควรบริหารจัดการด้านการเงินอย่างไร ?​เพื่อสินเชื่อ SME

​  ข้อแนะนำเบื้องต้น

​ปัญหาที่พบโดยทั่วไปของผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการรายใหม่ คือ การขาดระบบบัญชีและงบการเงินที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดการด้านการเงิน และสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรืออาจทำให้ขาดคุณสมบัติที่จะขอความช่วยเหลือหรือการส่งเสริมตามมาตรการของภาครัฐ ซึ่ง ศคง. มีข้อแนะนำดังนี้ ​

ควรแสดงตัวตนให้สถาบันการเงินรู้จัก เช่น การเปิดบัญชีและทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัญชีธนาคาร  เพื่อให้เกิดรายการหมุนเวียน ซึ่งแสดงถึงปริมาณการค้าหรือรายได้ของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ

ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเอกสารหลักฐานทางการค้า เอกสารเกี่ยวกับภาษี และการบันทึกบัญชีรับ-จ่าย ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ในการควบคุมด้านการเงิน และใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจภายในกิจการแล้ว  ยังสามารถใช้ยื่นต่อสถาบันการเงินเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่ออีกด้วย

อาจใช้ประโยชน์จากความรู้และประสบการณ์ของผู้สอบบัญชี ให้เข้ามาช่วยวางระบบบัญชี และจัดทำงบการเงินที่ถูกต้อง เชื่อถือได้

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน

​องค์ประกอบของงบการเงิน​

งบดุล คือ สิ่งที่สะท้อนฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นงวดบัญชี  งบดุลจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งซ้ายแสดงรายการสินทรัพย์  และฝั่งขวาแสดงรายการของผู้ที่มีส่วนในสินทรัพย์ ซึ่งมีอยู่ 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้ (หนี้สิน) และเจ้าของธุรกิจ (ทุน)  โดยที่จำนวนเงินทั้ง 2  ฝั่งจะต้องเท่ากันพอดี ตามสมการ  สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน

งบกำไรขาดทุน คือ สิ่งที่สะท้อนความสามารถในการทำกำไร หรือสะท้อนผลประกอบการในรอบระยะเวลา (งวดบัญชี) หนึ่ง โดยแสดงให้เห็นตัวเลขรายได้ ต้นทุนสินค้าขาย กำไรขั้นต้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร  และกำไรสุทธิของกิจการ

งบกระแสเงินสด คือ สิ่งที่แสดงความเคลื่อนไหวหรือการไหลเวียนของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด โดยแบ่งออกตามกิจกรรม ได้แก่ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน กระแสเงินสดจากการลงทุน  และกระเงินสดจากการจัดหาเงินทุน

​การวิเคราะห์งบการเงิน​

​เป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนธุรกิจและแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจการ ซึ่งสิ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอัตราส่วนซึ่งคำนวณจากข้อมูลต่าง ๆ ในงบการเงิน โดยขอยกตัวอย่างอัตราส่วนทางการเงินที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ดังนี้

​การวิเคราะห์โครงสร้างเงินทุน

o อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน  =  หนี้ / ทุน แสดงถึงโครงสร้างเงินทุนของกิจการ  ในแง่ของเจ้าหนี้ อัตราส่วนที่ต่ำ แสดงถึงทรัพย์สินสร้างขึ้นมาจากทุนเป็นส่วนใหญ่ไม่ใช่จากหนี้ กิจการมีภาระหนี้ต่ำ จึงมีความเสี่ยงในการให้กู้ยืมต่ำ

 

การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน

o Current Ratio  =   สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน เป็นเครื่องชี้สภาพคล่องของธุรกิจ หากอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องสูงและมีความเป็นไปได้ต่ำที่จะผิดนัดชำระหนี้

o Quick Ratio   =  (เงินสด+ลูกหนี้การค้า)/หนี้สินหมุนเวียน เป็นเครื่องชี้ความสามารถของธุรกิจในการชำระหนี้สินหมุนเวียนจากสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีสภาพคล่องสูงและสามารถแปลงเป็นเงินสดได้เร็ว

​ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

o การหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ  =  ต้นทุนขาย/สินค้าคงเหลือ   (หรืออาจใช้  ยอดขาย/สินค้าคงเหลือ ก็ได้) เป็นเครื่องชี้ประสิทธิภาพในการบริหารงานขายว่าสามารถจำหน่ายสินค้าได้เร็วเพียงใด

​o การหมุนเวียนของลูกหนี้  =  ยอดขาย/ลูกหนี้ เป็นเครื่องชี้ความสามารถในการบริหารลูกหนี้การค้า หากอัตราส่วนหนี้สูง แสดงว่าลูกหนี้ชำระเงินสดเร็ว

ข้อควรรู้ในการใช้บริการทางการเงิน​

​​ทุก ๆ ครั้งที่ใช้บริการทางการเงินเรามีสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งต้องปฏิบัติต่อคุณอย่างเหมาะสมการใช้บริการทางการเงินโดยที่ยังไม่ได้ทำความเข้าใจให้ถ้วนถี่ หรือไม่รอบคอบเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและความเสียหายได้ ในฐานะผู้ใช้บริการทางการเงิน เรามีหน้าที่พิ่งปฏบัติ เช่นกันสามารถติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้หลายช่องทาง

 

Leave a Reply