1.ความร้อนในตัวบ้านส่วนใหญ่มาจากหลังคา ดังนั้นตั้งแต่ก่อนสร้างบ้านควรวางระบบกันความร้อนใต้ฝ้าเพดานให้ดี แต่หากเป็นบ้านเก่าที่อยู่อาศัยแล้ว เราคงไม่แนะนำให้รื้อหลังคาทิ้งเพราะเพียงปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานก็ช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้นได้แล้ว สำหรับที่พักอาศัยประเภททาวน์เฮ้าส์ที่ใช้หลังคาร่วมกัน เราควรปูฉนวนกันความร้อนแบบแยกส่วนออกจากบ้านหลังข้างๆ
2.การป้องกันปัญหาความร้อนจากผนังด้านข้างของตัวบ้าน ก็ให้เพิ่มฉนวนกันความร้อนผนังห้องด้วยระบบผนังเบาหรือระบบผนังเย็น
3.นอกจากระบบป้องกันความร้อนที่ทำได้จากภายในบ้านแล้ว กับพื้นที่นอกบ้านที่เป็นพื้นคอนกรีต หรือที่จอดรถรอบๆ บ้าน ซึ่งเป็นวัสดุอบความร้อน เราอาจเปลี่ยนเป็นการปูบล็อกรอบๆ บ้านด้วยบล็อกที่ทำจากวัสดุซึ่งมีคุณสมบัติดูดน้ำและคายไอเย็นเมื่อโดนแสงแดด โดยเจ้าของบ้านควรรดน้ำบล็อกแบบวันเว้นวัน
4.ถ้าพักอาศัยอยู่ในทาวน์เฮาส์ คุณสามารถติดตั้งระแนงบังแดดในด้านที่แสงแดดส่องถึง ซึ่งนอกจากจะช่วยกันความร้อนได้แล้ว ยังเพิ่มความเป็นส่วนตัวได้อีกด้วย
5.เลือกม่านแบบโปร่งแสง เนื้อบาง สีอ่อน บางคนเข้าใจว่าในเมื่อม่านมีหน้าที่บังแดดควรเลือกม่านแบบหนา และสีเข้มจะช่วยกันความร้อนจากภายนอกได้ดี แต่จริงๆ แล้วเราควรเลือกผ้าม่านที่มีเนื้อผ้าบางเพื่อให้ลมพัดผ่านได้อย่างสะดวก ส่วนผ้าม่านสีอ่อนจะไม่ดูดความร้อนเท่ากับผ้าม่านสีเข้ม
6.ติดตั้งฟิล์มกรองแสง หรือฟิล์มกันความร้อน ในปัจจุบันนอกจากฟิล์มกรองแสงรถยนต์แล้วเรายังนำฟิล์มกรองแสงมาติดตั้งเพื่อทำให้บ้านเย็นลงได้ด้วย ทั้งนี้ยังช่วยลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศได้เป็นอย่างดี
7.ติดตั้งอุปกรณ์บังแดดประเภทต่างๆ เช่นผ้าใบกันแดด พัดลมระบายอากาศ บานเกล็ด
8.ต้นไม้ตัวช่วยชั้นดี เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการนำต้นไม้มาปลูกไว้ในบ้านจะช่วยเพิ่มความเย็นให้กับบ้าน หากเรามีต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่ภายในบ้านแล้วนั้น หากมันตั้งต้นสูงเราอาจใช้วิธีตัดเล็มให้ลมพัดผ่านได้สะดวก หรือหากมีต้นไม้ไม่มากอาจปลูกต้นไม้เพิ่มเพื่อความร่มรื่น โดยแนะนำให้ปลูกต้นไม้ทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ซึ่งจะทำให้บ้านเย็นขึ้น