เชื่อว่าหลายท่านอาจกำลังเกิดปัญหา ว่าได้มีการยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (บ้าน) ไปแล้ว แต่ธนาคารไม่อนุมัติ! หรือ อนุมัติวงเงินมาไม่เพียงพอต่อราคาบ้านที่เราต้องการ จะมีวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไรบ้าง วันนี้ทีมงานบ้านดี จะมาขออธิบายว่าการ “กู้ร่วมคืออะไร” มีส่วนช่วยในการที่ธนาคารจะอนุมัติวงเงินสินเชื่อเพิ่มอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลยค่ะ
เบื้องต้นต้องขออธิบายก่อนว่าการ “กู้ร่วม”กับ “ค้ำประกัน” นั้นมีความหมายคนละอย่างกัน การกู้ร่วมนั้น ธนาคารจะนับผู้กู้ร่วมเป็นเสมือนลูกหนี้คนหนึ่ง และจะนำรายได้ หนี้สิน ประวัติการชำระหนี้ของผู้กู้ร่วมมาร่วมพิจารณาในการอนุมัติด้วย ซึ่งหลังจากสินเชื่ออนุมัติแล้ว “ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม จะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน”
ความรับผิดชอบต่อการกู้ร่วม คืออะไร
การกู้ร่วมนั้นหมายถึง ผู้กู้หลัก และผู้กู้ร่วมมีหนี้สินร่วมคนละครึ่ง เช่น วงเงินในการขอสินเชื่อ 1 ล้านบาท เท่ากับผู้กู้หลักมีหน้าที่ในการชำระหนี้ 5 แสนบ้าน และผู้กู้ร่วมมีหน้าที่ผ่อนชำระ 5 แสนบาท หากคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ครบ 1 ล้านบาท มีสิทธิ์เรียกร้องเงินจากอีกฝ่ายได้ ครั้งนึงของหนี้สิน (คือ 5 แสนบาท) หรือในกรณีที่คนใดคนหนึ่งไม่มีการชำระสินเชื่อหรือขาดการผ่านชำระต่อธนาคาร ธนาคารสามารถเรียกเงินจากคนใดคนหนึ่งก็ได้ หรือให้มีสิทธิ์ในการใช้หนี้ร่วมกันก็ได้
กู้ร่วมเพื่อเพิ่มวงเงินในการขอสินเชื่อ
ในบางกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ไม่เพียงพอ หรือ ไม่สัมพันธ์กับราคาบ้านที่ต้องการ ผู้ขอสินเชื่อสามารถ “กู้ร่วม”เพื่อให้ธนาคารสามารถนำรายได้ของ “ผู้ขอสินเชื่อทั้งสอง” มาพิจารณาต่อวงเงินที่ขอ ว่าสามารถมีกำลังเพียงพอที่จะสามารถผ่อนชำระสินเชื่อที่ขอได้
กู้ร่วมกับใครได้บ้าง
ได้แก่ สามี – ภรรยา (กรณีไม่ได้จดทะเบียนสามารถใช้เอกสารอื่นเช่น ใบแจ้งเกิดของบุตร หรือ ทะเบียนบ้านของบุตร) บิดา – มารดา – บุตร และ พี่น้องร่วมสายเลือด (พ่อและแม่เดียวกัน)
เมื่อผ่อนชำระหนี้ครบแล้ว ทรัพย์จะตกเป็นของใคร
สำหรับข้อนี้ ขึ้นอยู่กับตอนโอนกรรมสิทธิ์ ว่าได้มีการบันทึกชื่อหลังโฉนดเป็นชื่อเป็นคนเดียวที่เป็นเข้าของกรรมสิทธิ์ หรือบันทึกชื่อทั้งสองคนเป็นเข้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
ขอถอนชื่อการจากการกู้ร่วมได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้ค่ะ แต่ธนาคารจะพิจารณาจากผู้กู้หลัก ว่าหากเหลือผู้กู้หลักเพียงผู้เดียวแล้ว จะมีความสามารถในการผ่อนชำระหรือไม่ กรณีวงเงินสินเชื่อเหลือน้อยแล้วเพราะได้มีการผ่อนชำระมานาน ส่วนมากก็มักจะไม่มีปัญหา แต่ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมมีหน้าที่ในการตกลงกันเองว่ากรรมสิทธิ์หลังโฉนดจะเป็นชื่อของใคร