อัพเดทอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ บ้าน MRR MLR MOR
สินเชื่อบ้าน MRR MLR MOR อัพเดทประจำเดือน พฤศจิกายน ปี 2561 จากหลากหลายธนาคาร เช่น ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา สำหรับผู้ที่กำลังสนใจกู้ซื้อบ้านและอสังหาริมทรัพทย์ เพื่อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างบ้าน รีไฟแนนซ์บ้าน และประกอบกิจการธุรกิจ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน MRR MLR MOR เป็นตัวแปรหลักที่มีผลต่อการคิดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ซึ่งขึ้นอยู่ว่าแต่ละธนาคารจะกำหนดการให้สินเชื่อตามอัตราดอกเบี้ยบ้านในรูปแบบไหน โดยส่วนใหญ่ธนาคารมักเลือกรูปแบบ MRR เพราะ MRR จัดประเภทของผู้กู้รายย่อยอย่างเราให้อยู่ในประเภทผู้กู้รายย่อยชั้นดี แตกต่างจาก MLR ที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าประเภทรายใหญ่ชั้นดี และ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ดังนั้นผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นเลือกซื้อบ้าน หรือ คอนโด นอกจากจะคิดคำนวณค่าใช้จ่าย ที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนแล้ว ต้องหมั่นอัพเดทอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ ซึ่งอาจช่วยคุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ
อัพเดทอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ บ้าน MRR MLR MOR
รวมเทคนิคการกู้ซื้อบ้านที่คนอยากมีบ้านต้องรู้
สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านและผ่อนชำระดอกเบี้ยครบกำหนด 3 ปี ยังใช้เป็นแนวทางในการคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า เพื่อทำการรีไฟแนนซ์บ้านได้ แต่ก่อนที่จะทำการรีไฟแนนซ์เพราะดอกเบี้ยการให้สินเชื่อที่ถูกกว่า ก็ควรคำนึงค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อเตรียมพร้อมทำการรีไฟแนนซ์
ตารางอัพเดทดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้าน MRR MLR MOR
ข้อมูลที่น่าสนใจ จากตารางอัพเดท เดือน พฤศจิกายน 2561 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดอยู่ในระดับคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
*จะเห็นได้ว่าธนาคารส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้านที่ถูกกำหนดโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) ไปในทิศทางเดียวกัน
ตัวอย่างการคำนวณอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งเลือกอิงไปที่ MRR ซึ่งแบงค์ชาติกำหนดไว้ที่ 7% ในรายละเอียดของสินเชื่อระบุไว้ว่าผู้กู้จะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราดังนี้: ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 5% ปีที่ 2 MRR-0.25% ปีที่ 3 MRR-0.25%
สมมติยอดเงินกู้ (principal) คือ 1 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยข้างต้น คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในปีที่ 1 = 1,000,000 x 5% = 50,000 บาท, ปีที่ 2=1,000,000 x 6.75% (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7% ลบด้วย 0.25%)=65,000 บาท, ปีที่ 3=1,000,000 x 6.75% (MRR ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 7% ลบด้วย 0.25%)=65,000 บาท ดังนั้นยอดรวมดอกเบี้ย 3 ปี ที่คุณจะต้องชำระคือ 180,000 บาท
อัพเดทอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน กู้ซื้อบ้าน
อัพเดทประจำเดือน พฤศจิกายน ปี 2561 จากหลากหลายธนาคาร เช่น ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา มาเปรียบเทียบให้เห็นกันไปเลย ที่ไหนให้สินเชื่อกู้ซื้อบ้านคิดดอกเบี้ยต่ำสุด มีเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการพิจารณาเลือกสินเชื่อ
หลังจากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ในไตรมาสที่ 3 มาที่ เดือน พฤศจิกายน ธนาคารส่วนใหญ่ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เท่ากับเดือนที่แล้ว มีเพียง ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยบางตัว ส่วน ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน ยังคงมีทางเลือกของอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลายขึ้น
อันดับที่ 1 อัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ยต่ำสุดตกเป็นของ ธนาคารกรุงเทพ (ฺฺBBL) ที่มีผลิตภัณฑ์และทางเลือกของอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว โดยมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่ 3.04% แต่มีเงื่อนไขในการขอสินเชื่อว่าผู้ขอต้องเป็นพนักงานประจำที่มีรายได้ตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ส่วนพนักงานประจำที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทจะมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.91% โดยมีเงื่อนไขในการทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ
โดยอันดับที่ 2 ตกเป็นของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีการปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยบางตัวในเดือนพฤศจิกายน ทำให้มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.15% สำหรับ โครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ (แพทย์, สัตวแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, ผู้พิพากษา และนักบินพาณิชย์) ส่วน บุคคลทั่วไป จะสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดที่ 3.15% เฉพาะคอนโดมิเนียม 1 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น
อันดับที่ 3 เป็นของ ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) ที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่จากไตรมาสก่อน โดยแบ่งเป็นผลิตภัณฑ์การขอสินเชื่อ 2 รูปแบบ คือ สำหรับรายได้ประจำ ดอกเบี้ยพิเศษ 0.60% นาน 8 เดือน มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.40% ส่วนสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการได้รับดอกเบี้ยพิเศษ 0.60% นาน 8 เดือน เช่นกัน โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.90% โดยทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์และดอกเบี้ยดังกล่าวอยู่ในเงื่อนไขของการทำประกัน
ธนาคารทหารไทย (TMB) ยังครองอันดับที่ 4 และใช้อัตราดอกเบี้ยเดิมจากเดือนที่แล้ว โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอยู่ที่ 3.50% แต่มีเงื่อนไขว่าโครงการที่กู้ซื้อนั้นต้องเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ที่ธนาคารกำหนด และต้องสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ ธนาคารทหารไทย (TMB) กำหนดประกอบไปด้วย โครงการบ้านและคอนโดฯ จากแสนสิริ, โครงการบ้านและคอนโดฯ จากอนันดาฯ และโครงการบ้านและคอนโดฯ จากเอพี (ไทยแลนด์) เป็นต้น (ทั้งนี้สามารถดูรายชื่อบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดทั้งหมดของธนาคารทหารไทยได้ที่นี่) ส่วนกรณีที่สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบทั้ง 3 ประเภท ธนาคารทหารไทยก็จะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.99%
ส่วน อันดับที่ 5 ธนาคารออมสิน (GSB) ก็มีการปรับอัตราดอกเบี้ยใหม่เช่นกันจากไตรมาสก่อน โดยมีทางเลือกของผลิตภัณฑ์มากขึ้นและมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 4.08% กรณีผู้กู้ประสงค์ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ
อันดับที่ 6 สำหรับกรณีการกู้ซื้อบ้านใหม่ของโครงการทั่วไปแบบไม่ได้ทำประกันหรือสมัครผลิตภัณฑ์เสริม ธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดคือ ธนาคารกรุงไทย (KTB) กับ สินเชื่อบ้านกรุงไทยผ่อนสบาย (ไม่ทำประกัน) โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 4.20% เท่านั้น
ทั้งนี้เอง ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ก็มีอัตราดอกเบี้ยทางเลือกสำหรับโครงการทั่วไปที่น่าสนใจ โดยให้วงเงินกู้สูงสุดจากการประเมินถึง 100% ทั้ง โครงการทั่วไป และ บริษัทอสังหาฯ ที่ธนาคารกำหนด ซึ่งอัตราดอกเบี้ยของโครงการทั้ง 2 รูปแบบจะมีอัตราดอกเบี้ยของแต่ละโครงการไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับธนาคารจะกำหนด
*อัตราสินเชื่อบ้านโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไม่บ่อยมากนัก ประมาณ 1 ไตรมาสหรือครึ่งปีต่อครั้ง ทั้งนี้ อัพเดทตารางอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ บ้าน – คอนโด ของธนาคารพาณิชย์ เดือน พฤศจิกายน 2561
*** อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เฉลี่ย 3 ปีแรก คำนวณแบบค่าเฉลี่ยทางคณิตศาสตร์เท่านั้น***
สามารถดาวน์โหลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่างๆ ของแต่ละธนาคาร และชมรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น อัตราดอกเบี้ยรายปี วงเงินกู้ และข้อมูลอื่นๆ ได้ที่นี่:
ข้อมูลที่น่าสนใจ ของธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 3 อันดับแรกในเดือนนี้ ได้แก่ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกรุงเทพ และ ธนาคารกสิกรไทย โดยปล่อยวงเงินกู้สูงสุดถึง 90 – 100% ของราคาประเมิน นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งธนาคารที่น่าสนใจ คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยของแต่ละโครงการไม่เท่ากัน ซึ่งบางโครงการอาจมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 3 อันดับแรกสำหรับธนาคารที่นำมาทั้งหมดในเดือนนี้ก็เป็นได้
ที่มาอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเฉลี่ย 3 ปี แรก*
– ธนาคารกรุงเทพ กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ขอสินเชื่อประเภทพนักงานประจำที่มีรายได้ตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป โดยมีเงื่อนไขในการทำประกัน ปีที่ 1 = MRR-4.25% ปีที่ 2 = MRR-4.% ปีที่ 3 = MRR-4.% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.04%
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดสำหรับ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มอาชีพพิเศษ ได้แก่ แพทย์, สัตวแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, ผู้พิพากษา และนักบินพาณิชย์ (ดอกเบี้ยคงที่ 0.5% ต่อปี นาน 1 ปี ฟรีค่าจดจำนอง) ปีที่ 1 = MRR-4.05% ปีที่ 2 = MRR-4.05% ปีที่ 3 = MRR-4.05% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 3.15%
– ธนาคารกสิกรไทย กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ดอกเบี้ยพิเศษ 0.60% นาน 8 เดือน (ทำประกัน) เดือนที่ 1 – 8 = 0.60% เดือนที่ 9 -12 = MRR-4.20% ปีที่ 2 = MRR-2.70% ปีที่ 3 = MRR-2.70% ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.40%
กรณีตัวอย่าง : ใช้อัตราส่วนการผ่อนชำระเบื้องต้นที่ 1,000,000 : 7,000
หากกู้ซื้อบ้านในราคาประเมิน 2,000,000 บาท สามารคิดเป็นยอดชำระเริ่มต้นต่อเดือนจากวงเงินกู้ได้ที่ประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน
คำนวณเบื้องต้นจากธนาคารที่มีดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.04%
กู้ซื้อบ้านกับธนาคารแห่งหนึ่งที่มีดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้ง 3 ปีอยู่ที่ 3.04% โดยแบ่งชำระเป็นจำนวนเงิน 14,000 บาทต่อเดือน ตลอดระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นยอดชำระทั้งหมด 504,000 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 338,679.89 บาท และคิดเป็นดอกเบี้ย 165,320.11 บาท
การคำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยตามกรณีตัวอย่างด้านบนเป็นการคำนวณเบื้องต้น 3 ปีแรกเท่านั้น หากต้องการคำนวณการผ่อนสินเชื่อบ้านตลอดระยะเวลาการกู้
***ทั้งนี้การคำนวณดังกล่าวเป็นการคาดคะเน อัตราจริงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร***
นอกจากอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารที่เราได้รวบรวมมาให้แล้ว เรายังมีเทคนิคเบื้องต้นในการเลือกสินเชื่อบ้านให้ได้ดอกเบี้ยต่ำและวงเงินกู้สูงมาแนะนำอีกด้วย
- บ้านโครงการใหม่หากคุณกำลังจะซื้อบ้านโครงการใหม่ หรือบ้านมือหนึ่ง ซึ่งเป็นการซื้อจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ปัจจุบันหลายบริษัทฯ มีการทำความร่วมมือกับธนาคารเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษแก่ลูกค้าของบริษัท ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามสินเชื่อที่ทางโครงการจัดให้ หรือสามารถสอบถามจากทางธนาคารโดยตรงก็ได้ครับว่าโครงการที่สนใจจะซื้อนั้นเป็นโครงการที่ธนาคารให้การสนับสนุนอยู่หรือไม่
- การซื้อทรัพย์สินธนาคาร NPAธนาคารที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน NPA นั้นมักจะมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้ให้ลูกค้าที่ซื้อทรัพย์สินธนาคาร สามารถสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเจ้าของทรัพย์ได้ครับ
- หน่วยงานที่ทำงานบางธนาคารนั้นมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อพนักงานที่ทำงานในหน่วยงานนั้นโดยเฉพาะในลักษณะสวัสดิการต่างๆ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงควรสอบถามแก่ทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลว่ามีสวัสดิการเกี่ยวกับการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยไว้กับธนาคารใดหรือไม่ หรือสอบถามเพิ่มเติมกับธนาคารต่างๆ ก็ได้ นอกจากนี้บางธนาคารมีการจัดกลุ่มอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในบางธุรกิจ หรือขนาดบริษัทซึ่งเราทำงานอยู่ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของแต่ละธนาคาร
- กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพพิเศษเช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักบินพาณิชย์ ผู้พิพากษา และอัยการ ธนาคารบางแห่งมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้กับกลุ่มลูกค้านี้โดยเฉพาะ สามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคาร
- กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารของภาครัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร ควรสอบถามหน่วยงานต้นสังกัด หรือเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารเหล่านี้ก่อน เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ครับ
- ทำประกัน MRTA การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อหรือ MRTA พร้อมกับการขอสินเชื่อนั้น ธนาคารมักจะมีส่วนลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อย แต่จะมีเงื่อนไขว่าต้องทำประกันคุ้มครองเป็นสัดส่วนเท่าใดของวงเงินกู้ หรือระยะเวลานานเท่าใด จึงจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารจะสามารถให้รายละเอียดคุณได้ครับ